วันที่: 09-07-2016
เคยมีใครเคยวางแผนจัดงานศพให้ตัวเองล่วงหน้าบ้างไหม ถ้ามี.. คุณคิดว่าการจัดงานศพต้องใช้เงินเท่าไหร่?
ในอดีต เมื่อมีคนในครอบครัวเสียชีวิต ต้องนำศพไปตั้งเพื่อบำเพ็ญกุศลที่บ้านของผู้ตาย โดยมีญาติพี่น้องรวมไปถึงเพื่อนบ้านช่วยกันจัดงานศพ เมื่อครบกำหนดฌาปนกิจศพก็เคลื่อนศพไปทำพิธีเผายังสุสานหรือป่าช้าของวัด
ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป การจัดงานศพนิยมไปทำพิธีที่วัด เพื่อความสะดวกต่อการจัดตามพิธีกรรมทางศาสนา เพราะวัดมีบริการครบวงจร ตั้งแต่รับศพ พิธีรดน้ำศพ พิธีลอยอัฐิ ตลอดจนการทำบุญต่างๆ เพียงแค่มีเงิน ก็จะได้ทุกสิ่งที่ต้องการ
ปัจจัยเลือกวัดสวดพระอภิธรรมและเผาศพ 1.เดินทางได้สะดวก 2.มีที่จอดรถ 3.มีศาลาบำเพ็ญกุศลขนาดใหญ่ที่รองรับแขกได้ 4. มีเมรุเผาศพอยู่ในที่เดียวกัน ซึ่งวัดหรือฌาปนสถานมีความพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร สิ่่งที่ญาติของผู้ตายต้องเตรียมพร้อมกับการนำศพไปวัด คือใบมรณบัตรมาแจ้งกับฌาปนสถานของวัด ก็ดำเนินพิธีกรรมทางศาสนาได้แล้ว
ส่วนขั้นตอนต่างๆ มีเจ้าหน้าที่บริการจัดงานศพเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ เจ้าภาพแค่เลือกรายการที่วางเรียงรายอยู่ในตู้โชว์ หรือในสมุดภาพถ่ายที่ระบุขนาดของสินค้าและราคา ถ้าจ้าภาพไม่ต้องการใช้บริการ สามารถดำเนินจัดหาอุปกรณ์เครื่องในพิธีศพได้ด้วยตนเอง แต่ก็น้อยคนนักที่จัดการด้วยตัวเอง เจ้าภาพจึงมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือจ่ายเงินให้วัด
ในแง่บริการแต่ละวัดไม่ได้แตกต่าง แต่ต่างที่ราคา โดยค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพประกอบด้วย ค่าหีบศพ ค่าดอกไม้ เครื่องไทยธรรม อาหาร เครื่องดื่ม ค่าศาลาและค่าเผาศพ เป็นต้น
ศาลาที่ใช้ในการตั้งสวดศพ มีให้เลือกหลายขนาด เป็นศาลาธรรมดาหรือศาลาติดแอร์ ค่าบริการมีตั้งแต่ราคาหลักร้อยบาทไปถึงหลายพันบาท
ดอกไม้หน้าหีบศพสามารถแสดงฐานะของเจ้าภาพหรือผู้ตายได้เป็นอย่างดี มีให้เลือกตั้งแต่แบบกอ แบบพุ่ม แบบสวน แบบเลื้อย และแบบโกฐพระราชทาน ราคาเริ่มต้นที่หลักพันไปจนถึงหลักแสน
ส่วนอาหารและเครื่องดื่มมีเมนูไว้ให้เลือก มีขนมธรรมดาจนถึงขนมบนห้าง เช่น สวนดุสิตโฮม เอสแอนด์พีและการบินไทย รวมถึงยี่ห้ออื่นๆ ส่วนอาหารคาวส่วนใหญ่วัดมีร้านประจำ แต่เจ้าภาพต้องการนำมาเองได้ ทางฌาปนสถานมีจาน ชาม ช้อนไว้ให้บริการ ด้านเครื่องไทยธรรมที่ใช้ในพิธีศพมีไว้ให้บริการ บางครั้งวัดมีให้เช่า
นอกจากนี้มีโปรชัวร์หรือแผ่นพับขายบริการ เช่น ธุรกิจจอมมินิเตอร์ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ของที่ระลึก ธุรกิจบริการลอยอัฐิ เป็นต้น
โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายของวัดต่างๆประเมินจากค่าใช้จ่ายการสวดพระอภิธรรมและเผาศพ จะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไข 1.ระยะเวลาในการสวดอภิธรรมและเผาศพ (3 วัน 5 วัน 7 วัน) 2.สถานะของวัด เป็นวัดขนาดเล็ก กลาง หรือ ขนาดใหญ่ ซึ่งผลการศึกษาโดยศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และวนิพพล มหาอาชา ปี 2549 พบว่า ค่าใช้จ่ายกรณีเป็นวัดขนาดเล็กระหว่าง 3-7 วัน ขั้นต่าประมาณ 9,000 บาท สูงสุด 35,500 บาท วัดขนาดกลาง ระยะเวลาสวดอภิธรรมเท่ากันเสียใช้จ่าย 24,000-63,000 บาท ขณะที่วัดขนาดใหญ่ ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำกว่า 30,000 – 70,000 บาทขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน ผู้สื่อข่าวไทยพับลิก้าได้ลงพื้นที่สำรวจวัดดังๆ ในกรุงเทพมหานคร 7 วัด ได้แก่ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร วัดโสมนัส วัดมกุฏกษัตริยารม วัดหัวลำโพง วัดเสมียนนารี วัดตรีทศเทพ และวัดเทพศิริทร์เพื่อหาคำตอบว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน
วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร ฌาปนสถานกองทัพอากาศ ให้บริการครบวงจร โดยคิดค่าศาลาธรรมดาคืนละ 2,000 บาท ศาลาปรับอากาศคืนละ 2,500 บาท
ค่าบำรุงเมรุ 4,000 บาท ค่าน้ำ ค่าไฟ (วันเผา) 2,000 บาท ค่าเจ้าหน้าที่วันละ 440 บาท และค่าของถวายพระคืนละ 1,040 บาท
ค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ ได้แก่ ค่าหีบศพเทพนม ข้างในบุนวมราคาตั้งแต่ 3,450 บาทขึ้นไป ดอกไม้หน้าหีบศพนั้นราคาเริ่มต้นที่ 4,500 บาท
สำหรับอาหารมีให้เลือก อาทิ กาแฟ โอวัลติ ไม่มีขนม ชุดละ 13 บาท กาแฟ โอวัลติน มีขนม 2 อย่าง ชุดละ 45 บาท หรืออาหารถ้วยละ 25-30 บาท สั้งขั้นต่ำ 50 ถ้วย
จากการสอบถามเจ้าหน้าที่เล่าว่า ศาลาจะเต็มตลอดทั้งเดือน เวลาสวดศพเวลา 18.30 น. หากเจ้าภาพประสงค์ให้เลื่อนเวลาสวดศพช้า หรือเร็วขึ้น หรือการสวดพระอภิธรรมมีการพักเบรคในการรับประทานของว่าง หรือสวดเสร็จในครั้งเดียวแล้วค่อยเลี้ยงอาหารก็ทำได้ โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำศาลา ส่วนเวลาเผาศพมี 4 เวลา 2 เมรุ วันหนึ่งเผาได้ 8 ศพ เริ่มเผาเวลา 13.00 น. 14.00 น. 16.00 น. และ 17.00 น.
ทั้งนี้ถ้าจัดงาน 3 คืน ประมาณ 60,000 – 90,000 บาท, 5 คืน ประมาณ 80,000 – 120,000 บาท และ 7 คืน ประมาณ 100,000 – 150,000 บาท
วัดโสมนัสมีหน่วยงานฌาปนสถานกองทัพบกเป็นผู้ให้บริการ โดยฌาปนสถานเป็นคนกลางติดต่อกับร้านค้าข้างนอก ส่วนอาหารว่างจากสวนดุสิตโฮม เอสแอนด์พี และการบินไทย ไว้ให้บริการ ส่วนอาหารคาวมีเจ้าประจำ
รวมไปถึงสินค้าฝากขาย เช่น บริการถ่ายภาพและวีดีโอ บริการลอยอังคาร จอมอนิเตอร์ และของชำร่วย โดยมีแผ่นพับ โปรชัวร์ ให้เจ้าภาพเลือกใช้บริการ
หีบศพจากร้านพรนิมิต มีหลายแบบหลายราคาให้เลือก มีแบบสีขาวเรียบ สีขาวเส้นสน สีขาวเทพนม หีบผ้าตราดเงิน หีบผ้าตราดทองเทพนม หีบผ้าลายหลุย และหีบมุกมีให้เลือกอีก 4 แบบ ขนาดของโลงขึ้นอยู่กับผู้ตายมีอยู่ 3 ขนาดให้เลือก 20,22 และ 24 นิ้ว จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ เจ้าภาพส่วนใหญ่เลือกใช้หีบศพเทพนมราคา 4,200 บาท
ดอกไม้มีให้เลือก เช่น แบบกอ สวน เลื้อย และโกฐพระราชทานราคาเริ่มต้นที่ 2,500 บาท โดยต้องใช้ดอกไม้ 2 ชุดคือหน้าหีบศพ 1 ชุดและหน้าเมรุอีก 1 ชุด ของที่ระลึกมีให้เลือก เช่น พัด ร่ม หนังสือ ยาดม หรือเจ้าภาพสามารถเลือกของชำร่วยตามวัตถุประสงค์ี่ที่ต้องการได้
ส่วนบริการถ่ายภาพและวีดีโอขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก
บริการฝากศพ/สุสาน ส่วนใหญ่จะฝากไว้ 100 วัน แล้วจึงทำการเผา
บริการลอยอัฐิ เริ่มต้นที่ราคา 4,500 บาทสามารถเลือกสถานที่ได้
อาหารและเครื่องดื่มมีของสวนดุสิตโฮม เอสแอนด์พี และการบินไทย โดยมีเมนูให้เลือก ส่วนอาหารคาวนั้นจะเป็นเจ้าประจำ แต่เจ้าภาพสามารถนำมาเองได้ ทางฌาปนสถานก็มีจาน ชาม ช้อนไว้ให้บริการ
ค่าใช้จ่าย ถ้า 3 คืน ประมาณ 50,000 บาท ถ้า 5 คืน ประมาณ 60,000 บาท และถ้า 7 คืน ประมาณ 70,000 บาท
วัดเสมียนนารี ให้บริการงานศพครบวงจร มี 11 ศาลา เป็นศาลาแอร์ 7 ศาลา ศาลาธรรมดา 4 ศาลา วัดสั่งดอกไม้จากร้านดอกไม้เสียงทองปากคลองตลาด ส่วนหีบศพสั่งจากร้านสุริยาหีบศพ (แคราย) อาหารมีแม่ครัวไว้บริการ ราคาต่อรองกับแม่ครัวเอง
อาหารว่างมีให้เลือก กาแฟ ไมโล โอวัลติน ในกรณีไม่มีขนมคิดชุดละ 10 บาท ถ้ามีขนมคิดชุดละ 20 บาท กาแฟ ไมโล โอวัลตินพร้อมขนมของ S&P (เค้ก แซนวิช พาย แยมโรล) ชุดละ 35 บาท จนถึงข้าวต้มหม้อเล็ก 1,000 บาท หม้อใหญ่ 1,500 บาท ขณะที่กะเพาะปลา ก๋วยเตี๋ยวและอาหารประเภทอื่นๆ จะคิดราคาที่หม้อเล็ก 1,500 บาท สำหรับแขก 60-70 คน หม้อใหญ่ 2,000 บาท สำหรับแขก 100-120 คน
ถ้าเจ้าภาพเลือกใช้บริการของวัด โดยจัดงาน 3 คืน ประมาณ 40,000 บาท งาน 5 คืน ประมาณ 60,000 บาท และถ้า 7 คืนประมาณ 70,000 บาท
สำหรับวัดหัวลำโพง วัดเป็นผู้ให้บริการงานศพถ้าเจ้าภาพเลือกใช้บริการของวัด โดยจัดงาน 3 คืนจะค่ามีใช้จ่ายประมาณ 60,000 บาท ถ้า 5 คืน ประมาณ 80,000 บาท และ 7 คืน ประมาณ 100,000 บาท
วัดตรีทศเทพถ้าจัดงาน 3 คืน ประมาณ 40,000 บาท, 5 คืน ประมาณ 60,000 บาท และ 7 คืนประมาณ 80,000 บาท
ในส่วนของวัดมกุฏกษัตริยาราม วัดเป็นผู้ให้บริการ มีอุปกรณ์ไว้บริการหลากหลาย ตั้งแต่หีบศพราคาเริ่มต้นที่ 2,300 บาทถึงสูงสุด 5,500 บาท
ดอกไม้ ราคา 6,000-20,000 บาท(หากเจ้าภาพนำร้านดอกไม้จากภายนอกมาจัดหน้าศพ ทางวัดคิดค่าบำรุงวัด 1,000 บาท) เครื่องไทยธรรมสามารถเช่าซื้อจากวัดได้ ชุดละ 220 บาท อาหารและเครื่องดื่มมีไว้บริการ ถ้าเจ้าภาพต้องการเป็นของเอสแอนด์พี หรือการบินไทยเ จ้าภาพต้องติดต่อหาซื้้อเอง
อาหารว่างชุดละ 45 บาท ในหนึ่งกล่องมีขนม 2 ชิ้น และน้ำ 1 แก้วพลาสติก เจ้าภาพสามารถเลือกขนม และน้ำได้ว่าจะเอาอะไรตามเมนูที่มีให้เลือก 26 รายการ มีน้ำให้เลือกอีก 4 แบบ ถ้าต้องการเป็นชา กาแฟ หรือโอวัลตินคิดถ้วยละ 20 บาท ถ้ามีของว่างด้วย 45 บาท ของว่างสั่งขั้นต่ำ 30 ชุด (ในกรณีที่สั่งเบเกอรี่ ไม่สามารถยกเลิกและคืนเบเกอรี่ได้)
อาหารถวายพระ 5 อย่าง มีของหวาน 1 อย่าง ผลไม้ตามฤดูกาล 3 อย่าง อาหารถวายพระ 9-10 รูปคิดราคา 250 บาทต่อรูป อาหารเลี้ยงแขกสั่งขั้นต่ำ 20 คนขึ้นไป ถ้าต้องการยกเลิกต้องแจ้งล่วงหน้า 2 วัน
ถ้าเจ้าภาพเลือกจัดงาน 3 คืน ประมาณ 60,000 บาท, 5 คืน ประมาณ 80,000 บาท และ 7 คืน ประมาณ 100,000 บาท
วัดเทพศิรินทร์ ถ้าเจ้าภาพเลือกจัด 3 คืน ประมาณ 50,000 บาท, 5 คืน ประมาณ 70,000 บาท และ 7 คืน ประมาณ 90,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ความหรูหราใหญ่โตของงานศพเป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานภาพและความมีหน้ามีตาทาง สังคม รวมไปถึงฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของผู้ตายและญาติ
จากงานศึกษาของ “อนันต์ ยูสานนท์” กล่าวถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานศพไว้ค่อนข้างละเอียด ในบทที่ว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การตายและยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานศพของ คุณแม่ผู้ศึกษาซึ่งเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.2520 ตั้งบำเพ็ญกุศล บรรจุศพและฌาปนกิจที่ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัส เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 11,555.50 บาท ประกอบด้วย 4 รายการ 1.รับศพไปวัดรวมถึงพิธีอาบน้ำศพ 1,414.5 บาท 2.ค่าใช้จ่ายการสวดพระอภิธรรม 6 คืน 8,488 บาท 3.ค่าใช้จ่ายในการบรรจุศพ และ ค่าใช้จ่ายฌาปนกิจศพรวมถึงพิธีแปรธาตุ 1,653 บาท
จากปี 2520 – 2554 เป็นเวลา 34 ปี จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายจัดงานศพมีราคาเพิ่่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว
ขอบพระคุณที่มา
http://thaipublica.org
เคยมีใครเคยวางแผนจัดงานศพให้ตัวเองล่วงหน้าบ้างไหม ถ้ามี.. คุณคิดว่าการจัดงานศพต้องใช้เงินเท่าไหร่?
ในอดีต เมื่อมีคนในครอบครัวเสียชีวิต ต้องนำศพไปตั้งเพื่อบำเพ็ญกุศลที่บ้านของผู้ตาย โดยมีญาติพี่น้องรวมไปถึงเพื่อนบ้านช่วยกันจัดงานศพ เมื่อครบกำหนดฌาปนกิจศพก็เคลื่อนศพไปทำพิธีเผายังสุสานหรือป่าช้าของวัด
ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป การจัดงานศพนิยมไปทำพิธีที่วัด เพื่อความสะดวกต่อการจัดตามพิธีกรรมทางศาสนา เพราะวัดมีบริการครบวงจร ตั้งแต่รับศพ พิธีรดน้ำศพ พิธีลอยอัฐิ ตลอดจนการทำบุญต่างๆ เพียงแค่มีเงิน ก็จะได้ทุกสิ่งที่ต้องการ
ปัจจัยเลือกวัดสวดพระอภิธรรมและเผาศพ 1.เดินทางได้สะดวก 2.มีที่จอดรถ 3.มีศาลาบำเพ็ญกุศลขนาดใหญ่ที่รองรับแขกได้ 4. มีเมรุเผาศพอยู่ในที่เดียวกัน ซึ่งวัดหรือฌาปนสถานมีความพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร สิ่่งที่ญาติของผู้ตายต้องเตรียมพร้อมกับการนำศพไปวัด คือใบมรณบัตรมาแจ้งกับฌาปนสถานของวัด ก็ดำเนินพิธีกรรมทางศาสนาได้แล้ว
ส่วนขั้นตอนต่างๆ มีเจ้าหน้าที่บริการจัดงานศพเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ เจ้าภาพแค่เลือกรายการที่วางเรียงรายอยู่ในตู้โชว์ หรือในสมุดภาพถ่ายที่ระบุขนาดของสินค้าและราคา ถ้าจ้าภาพไม่ต้องการใช้บริการ สามารถดำเนินจัดหาอุปกรณ์เครื่องในพิธีศพได้ด้วยตนเอง แต่ก็น้อยคนนักที่จัดการด้วยตัวเอง เจ้าภาพจึงมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือจ่ายเงินให้วัด
ในแง่บริการแต่ละวัดไม่ได้แตกต่าง แต่ต่างที่ราคา โดยค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพประกอบด้วย ค่าหีบศพ ค่าดอกไม้ เครื่องไทยธรรม อาหาร เครื่องดื่ม ค่าศาลาและค่าเผาศพ เป็นต้น
ศาลาที่ใช้ในการตั้งสวดศพ มีให้เลือกหลายขนาด เป็นศาลาธรรมดาหรือศาลาติดแอร์ ค่าบริการมีตั้งแต่ราคาหลักร้อยบาทไปถึงหลายพันบาท
ดอกไม้หน้าหีบศพสามารถแสดงฐานะของเจ้าภาพหรือผู้ตายได้เป็นอย่างดี มีให้เลือกตั้งแต่แบบกอ แบบพุ่ม แบบสวน แบบเลื้อย และแบบโกฐพระราชทาน ราคาเริ่มต้นที่หลักพันไปจนถึงหลักแสน
ส่วนอาหารและเครื่องดื่มมีเมนูไว้ให้เลือก มีขนมธรรมดาจนถึงขนมบนห้าง เช่น สวนดุสิตโฮม เอสแอนด์พีและการบินไทย รวมถึงยี่ห้ออื่นๆ ส่วนอาหารคาวส่วนใหญ่วัดมีร้านประจำ แต่เจ้าภาพต้องการนำมาเองได้ ทางฌาปนสถานมีจาน ชาม ช้อนไว้ให้บริการ ด้านเครื่องไทยธรรมที่ใช้ในพิธีศพมีไว้ให้บริการ บางครั้งวัดมีให้เช่า
นอกจากนี้มีโปรชัวร์หรือแผ่นพับขายบริการ เช่น ธุรกิจจอมมินิเตอร์ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ของที่ระลึก ธุรกิจบริการลอยอัฐิ เป็นต้น
โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายของวัดต่างๆประเมินจากค่าใช้จ่ายการสวดพระอภิธรรมและเผาศพ จะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไข 1.ระยะเวลาในการสวดอภิธรรมและเผาศพ (3 วัน 5 วัน 7 วัน) 2.สถานะของวัด เป็นวัดขนาดเล็ก กลาง หรือ ขนาดใหญ่ ซึ่งผลการศึกษาโดยศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และวนิพพล มหาอาชา ปี 2549 พบว่า ค่าใช้จ่ายกรณีเป็นวัดขนาดเล็กระหว่าง 3-7 วัน ขั้นต่าประมาณ 9,000 บาท สูงสุด 35,500 บาท วัดขนาดกลาง ระยะเวลาสวดอภิธรรมเท่ากันเสียใช้จ่าย 24,000-63,000 บาท ขณะที่วัดขนาดใหญ่ ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำกว่า 30,000 – 70,000 บาทขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน ผู้สื่อข่าวไทยพับลิก้าได้ลงพื้นที่สำรวจวัดดังๆ ในกรุงเทพมหานคร 7 วัด ได้แก่ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร วัดโสมนัส วัดมกุฏกษัตริยารม วัดหัวลำโพง วัดเสมียนนารี วัดตรีทศเทพ และวัดเทพศิริทร์เพื่อหาคำตอบว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน
วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร ฌาปนสถานกองทัพอากาศ ให้บริการครบวงจร โดยคิดค่าศาลาธรรมดาคืนละ 2,000 บาท ศาลาปรับอากาศคืนละ 2,500 บาท
ค่าบำรุงเมรุ 4,000 บาท ค่าน้ำ ค่าไฟ (วันเผา) 2,000 บาท ค่าเจ้าหน้าที่วันละ 440 บาท และค่าของถวายพระคืนละ 1,040 บาท
ค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ ได้แก่ ค่าหีบศพเทพนม ข้างในบุนวมราคาตั้งแต่ 3,450 บาทขึ้นไป ดอกไม้หน้าหีบศพนั้นราคาเริ่มต้นที่ 4,500 บาท
สำหรับอาหารมีให้เลือก อาทิ กาแฟ โอวัลติ ไม่มีขนม ชุดละ 13 บาท กาแฟ โอวัลติน มีขนม 2 อย่าง ชุดละ 45 บาท หรืออาหารถ้วยละ 25-30 บาท สั้งขั้นต่ำ 50 ถ้วย
จากการสอบถามเจ้าหน้าที่เล่าว่า ศาลาจะเต็มตลอดทั้งเดือน เวลาสวดศพเวลา 18.30 น. หากเจ้าภาพประสงค์ให้เลื่อนเวลาสวดศพช้า หรือเร็วขึ้น หรือการสวดพระอภิธรรมมีการพักเบรคในการรับประทานของว่าง หรือสวดเสร็จในครั้งเดียวแล้วค่อยเลี้ยงอาหารก็ทำได้ โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำศาลา ส่วนเวลาเผาศพมี 4 เวลา 2 เมรุ วันหนึ่งเผาได้ 8 ศพ เริ่มเผาเวลา 13.00 น. 14.00 น. 16.00 น. และ 17.00 น.
ทั้งนี้ถ้าจัดงาน 3 คืน ประมาณ 60,000 – 90,000 บาท, 5 คืน ประมาณ 80,000 – 120,000 บาท และ 7 คืน ประมาณ 100,000 – 150,000 บาท
วัดโสมนัสมีหน่วยงานฌาปนสถานกองทัพบกเป็นผู้ให้บริการ โดยฌาปนสถานเป็นคนกลางติดต่อกับร้านค้าข้างนอก ส่วนอาหารว่างจากสวนดุสิตโฮม เอสแอนด์พี และการบินไทย ไว้ให้บริการ ส่วนอาหารคาวมีเจ้าประจำ
รวมไปถึงสินค้าฝากขาย เช่น บริการถ่ายภาพและวีดีโอ บริการลอยอังคาร จอมอนิเตอร์ และของชำร่วย โดยมีแผ่นพับ โปรชัวร์ ให้เจ้าภาพเลือกใช้บริการ
หีบศพจากร้านพรนิมิต มีหลายแบบหลายราคาให้เลือก มีแบบสีขาวเรียบ สีขาวเส้นสน สีขาวเทพนม หีบผ้าตราดเงิน หีบผ้าตราดทองเทพนม หีบผ้าลายหลุย และหีบมุกมีให้เลือกอีก 4 แบบ ขนาดของโลงขึ้นอยู่กับผู้ตายมีอยู่ 3 ขนาดให้เลือก 20,22 และ 24 นิ้ว จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ เจ้าภาพส่วนใหญ่เลือกใช้หีบศพเทพนมราคา 4,200 บาท
ดอกไม้มีให้เลือก เช่น แบบกอ สวน เลื้อย และโกฐพระราชทานราคาเริ่มต้นที่ 2,500 บาท โดยต้องใช้ดอกไม้ 2 ชุดคือหน้าหีบศพ 1 ชุดและหน้าเมรุอีก 1 ชุด ของที่ระลึกมีให้เลือก เช่น พัด ร่ม หนังสือ ยาดม หรือเจ้าภาพสามารถเลือกของชำร่วยตามวัตถุประสงค์ี่ที่ต้องการได้
ส่วนบริการถ่ายภาพและวีดีโอขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก
บริการฝากศพ/สุสาน ส่วนใหญ่จะฝากไว้ 100 วัน แล้วจึงทำการเผา
บริการลอยอัฐิ เริ่มต้นที่ราคา 4,500 บาทสามารถเลือกสถานที่ได้
อาหารและเครื่องดื่มมีของสวนดุสิตโฮม เอสแอนด์พี และการบินไทย โดยมีเมนูให้เลือก ส่วนอาหารคาวนั้นจะเป็นเจ้าประจำ แต่เจ้าภาพสามารถนำมาเองได้ ทางฌาปนสถานก็มีจาน ชาม ช้อนไว้ให้บริการ
ค่าใช้จ่าย ถ้า 3 คืน ประมาณ 50,000 บาท ถ้า 5 คืน ประมาณ 60,000 บาท และถ้า 7 คืน ประมาณ 70,000 บาท
วัดเสมียนนารี ให้บริการงานศพครบวงจร มี 11 ศาลา เป็นศาลาแอร์ 7 ศาลา ศาลาธรรมดา 4 ศาลา วัดสั่งดอกไม้จากร้านดอกไม้เสียงทองปากคลองตลาด ส่วนหีบศพสั่งจากร้านสุริยาหีบศพ (แคราย) อาหารมีแม่ครัวไว้บริการ ราคาต่อรองกับแม่ครัวเอง
อาหารว่างมีให้เลือก กาแฟ ไมโล โอวัลติน ในกรณีไม่มีขนมคิดชุดละ 10 บาท ถ้ามีขนมคิดชุดละ 20 บาท กาแฟ ไมโล โอวัลตินพร้อมขนมของ S&P (เค้ก แซนวิช พาย แยมโรล) ชุดละ 35 บาท จนถึงข้าวต้มหม้อเล็ก 1,000 บาท หม้อใหญ่ 1,500 บาท ขณะที่กะเพาะปลา ก๋วยเตี๋ยวและอาหารประเภทอื่นๆ จะคิดราคาที่หม้อเล็ก 1,500 บาท สำหรับแขก 60-70 คน หม้อใหญ่ 2,000 บาท สำหรับแขก 100-120 คน
ถ้าเจ้าภาพเลือกใช้บริการของวัด โดยจัดงาน 3 คืน ประมาณ 40,000 บาท งาน 5 คืน ประมาณ 60,000 บาท และถ้า 7 คืนประมาณ 70,000 บาท
สำหรับวัดหัวลำโพง วัดเป็นผู้ให้บริการงานศพถ้าเจ้าภาพเลือกใช้บริการของวัด โดยจัดงาน 3 คืนจะค่ามีใช้จ่ายประมาณ 60,000 บาท ถ้า 5 คืน ประมาณ 80,000 บาท และ 7 คืน ประมาณ 100,000 บาท
วัดตรีทศเทพถ้าจัดงาน 3 คืน ประมาณ 40,000 บาท, 5 คืน ประมาณ 60,000 บาท และ 7 คืนประมาณ 80,000 บาท
ในส่วนของวัดมกุฏกษัตริยาราม วัดเป็นผู้ให้บริการ มีอุปกรณ์ไว้บริการหลากหลาย ตั้งแต่หีบศพราคาเริ่มต้นที่ 2,300 บาทถึงสูงสุด 5,500 บาท
ดอกไม้ ราคา 6,000-20,000 บาท(หากเจ้าภาพนำร้านดอกไม้จากภายนอกมาจัดหน้าศพ ทางวัดคิดค่าบำรุงวัด 1,000 บาท) เครื่องไทยธรรมสามารถเช่าซื้อจากวัดได้ ชุดละ 220 บาท อาหารและเครื่องดื่มมีไว้บริการ ถ้าเจ้าภาพต้องการเป็นของเอสแอนด์พี หรือการบินไทยเ จ้าภาพต้องติดต่อหาซื้้อเอง
อาหารว่างชุดละ 45 บาท ในหนึ่งกล่องมีขนม 2 ชิ้น และน้ำ 1 แก้วพลาสติก เจ้าภาพสามารถเลือกขนม และน้ำได้ว่าจะเอาอะไรตามเมนูที่มีให้เลือก 26 รายการ มีน้ำให้เลือกอีก 4 แบบ ถ้าต้องการเป็นชา กาแฟ หรือโอวัลตินคิดถ้วยละ 20 บาท ถ้ามีของว่างด้วย 45 บาท ของว่างสั่งขั้นต่ำ 30 ชุด (ในกรณีที่สั่งเบเกอรี่ ไม่สามารถยกเลิกและคืนเบเกอรี่ได้)
อาหารถวายพระ 5 อย่าง มีของหวาน 1 อย่าง ผลไม้ตามฤดูกาล 3 อย่าง อาหารถวายพระ 9-10 รูปคิดราคา 250 บาทต่อรูป อาหารเลี้ยงแขกสั่งขั้นต่ำ 20 คนขึ้นไป ถ้าต้องการยกเลิกต้องแจ้งล่วงหน้า 2 วัน
ถ้าเจ้าภาพเลือกจัดงาน 3 คืน ประมาณ 60,000 บาท, 5 คืน ประมาณ 80,000 บาท และ 7 คืน ประมาณ 100,000 บาท
วัดเทพศิรินทร์ ถ้าเจ้าภาพเลือกจัด 3 คืน ประมาณ 50,000 บาท, 5 คืน ประมาณ 70,000 บาท และ 7 คืน ประมาณ 90,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ความหรูหราใหญ่โตของงานศพเป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานภาพและความมีหน้ามีตาทาง สังคม รวมไปถึงฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของผู้ตายและญาติ
จากงานศึกษาของ “อนันต์ ยูสานนท์” กล่าวถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานศพไว้ค่อนข้างละเอียด ในบทที่ว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การตายและยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานศพของ คุณแม่ผู้ศึกษาซึ่งเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.2520 ตั้งบำเพ็ญกุศล บรรจุศพและฌาปนกิจที่ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัส เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 11,555.50 บาท ประกอบด้วย 4 รายการ 1.รับศพไปวัดรวมถึงพิธีอาบน้ำศพ 1,414.5 บาท 2.ค่าใช้จ่ายการสวดพระอภิธรรม 6 คืน 8,488 บาท 3.ค่าใช้จ่ายในการบรรจุศพ และ ค่าใช้จ่ายฌาปนกิจศพรวมถึงพิธีแปรธาตุ 1,653 บาท
จากปี 2520 – 2554 เป็นเวลา 34 ปี จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายจัดงานศพมีราคาเพิ่่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว
ขอบพระคุณที่มา
http://thaipublica.org
|
|
|