วันที่: 12-06-2016
คนไทยในประเทศไทย มีความเห็นอย่างหลากหลายเกี่ยวกับ การลอยอังคาร ดังจะได้นำความเห็นของแต่ละท่านและแต่ละแหล่งมาเสนอดังนี้ :
1.การลอยอังคารน่าจะได้รับคตินิยมมาจากอินเดีย
“คำว่า “อังคาร” นั้น หมายถึง ถ่านไม้ ถ่านเผา ถ่านไฟที่กำลังปะทุอยู่
ใน คำวัดหมายถึงเถ้าถ่านของศพ ที่เผาแล้ว แต่มักเข้าใจกันว่าหมายถึงอัฐิหรือกระดูกของคนตายที่เผาแล้ว และเมื่อทำพิธีเก็บอัฐิและทำบุญเสร็จแล้วนิยมรวบรวมอังคารห่อด้วยผ้าขาวหรือ ใส่โถแล้ว ห่อด้วยผ้าขาวนำไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเลตอนที่มีร่องน้ำลึก โดยเชื่อว่าจะทำให้ผู้ตายได้อยู่ในสถานที่เย็นๆ โดยไม่มีใครรบกวน เรียกการกระทำอย่างนั้นว่า ลอยอังคาร
“พิธีการลอยอังคารนั้น สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับคตินิยมมาจากอินเดีย เหตุเพราะคนอินเดียถือว่า แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชำระบาปได้ ด้วยเหตุนี้การเผาศพจึงชอบที่จะมาเผากันที่ริมแม่น้ำคงคากันมาก ทั้งนี้ ก็เพียงเพื่อจะได้นำกระดูกและเถ้าถ่านทิ้งลงแม่น้ำแห่งนี้ เพราะถ้าไม่ได้สัมผัสกับน้ำในแม่น้ำคงคาแล้วก็จะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ หรือไม่หมดบาปนั่นเอง
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการบันทึกในพงศาวดารกล่าวถึงพิธีการลอยอังคาร โดยเฉพาะการลอยพระอังคารของบรรดาเจ้านายต่างๆไว้อย่างชัดเจน และสืบเนื่องมากระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์
“อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวมาแล้วว่า พิธีการลอยอังคารนั้นน่าจะมีที่มาจากอินเดีย ก็ยังคงมีความซับซ้อนไปอีกชั้นนึง โดยเชื่อว่าน่าจะมาจากอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก เหตุเพราะถ้าเป็นคติทางพุทธแล้ว มักจะนิยมเผาศพแล้วเอาอัฐิธาตุ (กระดูก) ฝังและก่อกองดินหรือกองหินตรงที่ฝัง ซึ่งเรียกกันว่า “สถูป”
“ดัง เช่นอังคาร ที่เป็นเถ้าถ่านจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า โมริยกษัตริย์ได้นำไปบรรจุไว้ในสถูปที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อสักการบูชา ที่เมืองปิปผลิวัน เรียกว่า “อังคารสถูป”
ดังนั้น ประเทศไทยจึงรับเอา วัฒนธรรม ประเพณีนี้มาทั้งสองทาง คือ ทั้งฮินดู และพุทธ กล่าวคือสำหรับทางพุทธ ถ้าเป็นคนชั้นสูงก็จะก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ ถ้าเป็นคนชั้นล่างก็เป็นแต่เพียงฝังอัฐิธาตุหรือเอาไปกองทิ้งไว้โคนต้น ส่วนพระอังคารหรือถ่านที่เผาพระศพ ก็จะเชิญไปลอยปล่อยไปในแม่น้ำตามคติทางฮินดู เพิ่งมาเลิกลอยพระอังคาร เปลี่ยนเป็นบรรจุเมื่อ รัชกาลที่ ๕ มานี้เอง
“การลอยอังคารจึงไม่เพียงแต่เป็นการฝากคนที่เรารักไว้กับแม่พระคงคา เทพยดาผู้รักษาน้ำ เพื่ออภิบาลดวงวิญญาณของผู้นั้น เท่านั้น แต่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการละวางทั้งปวง ร่างกาย สังขาร ทั้งหลาย เมื่อแตกดับ กลับคือสู่ธาตุต่างๆที่มาประชุมกัน เหลือเพียงผงธุลี ฝากไว้ในอากาศ ในดิน ในน้ำ
กลับคืนสู่ … บ้าน อันนิรันดร์และแท้จริงของสรรพสิ่งทั้งมวล”
2.การลอยอังคารเป็นคติให้คนลอยได้คิด
“ตามที่ข้างบนกล่าวน่ะครับ แต่อังคารไม่ใช่เถ้า(ตามคำกล่าว) เห็นควรว่าเป็นส่วนที่เหลืออยู่จากการเผาไหม้ ถือเป็นธาตุดิน การโปรยเป็นการรวมอีกครั้งให้ครบทั้งสี่ธาตุ(ดิน น้ำ ลม ไฟ) หมายถึง ให้ไปเกิดใหม่ คือ อย่าอาลัยในส่วนที่เหลืออยู่(ตามความเชื่อ) แต่เป็นคติให้คนโปรยให้ได้คิด ว่าสุดท้ายก็เหลือเพียงแค่นี้ คนอยู่ความอยากจะได้น้อยลง
“ทะเล นั้นกว้างใหญ่ เพื่อไม่ให้ยึดติดในสัญญา(ว่าจะกลับมาหาเรื่องอีก) บึงใหญ่ๆก็ใช้ได้ ว่าจะได้สงบนิ่ง(ไม่มีตัณหา)ไม่ต้องทุรนทุรายเหมือนตอนยังมีชีวิตอยู่อีกต่อ ไป เป็นคติให้คนที่ยังอยู่ได้คิดว่า เมื่อสุดท้ายเป็นเช่นนี้ จะดิ้นรนหาอะไรอีก
“เรื่องความเชื่อของพราหมณ์ ก็ปะๆปนๆเข้ากันกับชาวพุทธเราเป็นงี้แหละ จนสงสัยกันว่าลัทธิพราหมณ์อาจเป็นสาขาปลีกย่อยของพุทธศาสตร์พระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆในกัปนี้แหละ”
3. การลอยอังคารถ้าไม่มีทะเลก็ลอยในแม่น้ำใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง
“มาจากอินเดียค่ะ ชาวพราหมณ์ฮินดูที่อินเดียจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้คือเชื่อว่าแม่ น้ำคงคาไหลไปสู่และไหลมาจากสรวงสวรรค์ เพราะไหลมาจากแม่น้ำหิมาลัยตรงที่เขาเรียกกันว่าโคมุข คือ ปากโค ตามคติความเรื่องป่าหิมพานต์ที่มีเขา ๕ ลูกล้อมรอบสระอโนดาต และที่สระอโนดาตจะมีทางให้น้ำไหลออกมาอยู่ ๔ แห่ง คือ - สีหมุข ปากราชสีห์ เป็นถิ่นที่ราชสีห์อาศัยอยู่มาก - หัตถีมุข ปากช้าง เป็นถิ่นที่ช้างอาศัยอยู่มาก -อัสสมุข ปากม้า เป็นถิ่นที่ม้าอาศัยอยู่มาก -อุสภมุข ปากโคอุสภะ เป็นถิ่นที่โคอาศัยอยู่มาก น้ำจากสระอโนดาตนี้ จะไหลต่อมาอีกยาวไกล จนมากระทบกับติรัจฉานบรรพต คือเขาขวางก็จะเกิดแยกออกเป็นแม่น้ำสายหลัก ๕ สายของมนุษย์ คือ อจิรวดี คงคา ยมุนา สรภู และ มหิ
“ดังนั้นชาวฮินดูจึงเชื่อว่าแม่น้ำคงคาสามารถล้างบาปได้ ในชีวิตหนึ่งหากได้ลงอาบน้ำ(โดยจะดำลงไปจนมิดหัว)ในแม่น้ำคงคาถือว่ามีบุญ ถือว่าชีวิตสมบูรณ์ ถือว่าได้ชำระล้างบาปทั้งมวลแล้ว เมื่อมีคนตายเขาจะนำมาเผาที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาและลอยเถ้าอังคาร หรือนำศพลอยลงสู่แม่น้ำคงคา เชื่อว่าคนที่ตายจะได้ไปสวรรค์ แต่เขาจะทำกิจกรรมเหล่านี้ที่ฟากฝั่งเดียวของแม่น้ำคงคานะคะ เพราะเชื่อกันว่าอีกฝั่งหนึ่งคือฝั่งนรก จึงไม่มีใครไปอาบน้ำเอาศพไปลอยอีกฝั่งหนึ่ง
“คติความเชื่อเหล่านี้ที่ไทยรับมาและยังเห็นได้อยู่มียกตัวอย่างคือคำเรียก ชื่อ ประเพณีรดน้ำดำหัว ซึ่งปัจจุบันไทยเราจะแค่รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ที่มือ บางท้องถิ่นจะมีการอาบน้ำให้ผู้ใหญ่ แต่ของอินเดีย อย่างที่เล่าแล้วว่าเขาจะอาบน้ำในแม่น้ำคงคงคาโดยจะดำน้ำจนมิดหัว แต่ของไทยเหลือติดมาแค่คำว่า ดำหัว เท่านั้น ประเพณีการลอยอังคารในแม่น้ำใหญ่หรือที่ปากอ่าว ในทะเล ไทยเรารับมาจากอินเดีย ที่จริงมีผู้รู้ท่านหนึ่งในนี้(มาแสดงตัวหน่อยเร้ว) บอกว่าที่ถูกต้องต้องลอยทั้งห่อ ไม่ใช่แกะห่อแล้วโปรย เมื่อเกิดใหม่จะได้ครบส่วน ผิดถูกไปไล่เอากับท่านมหาเองนะคะ ถ้าไม่มีทะเลก็ลอยในแม่น้ำใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ปิง วัง ยม น่าน ป่าสัก หรือไม่ก็ขับรถมาลอยที่ปากอ่าวแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ไทยไม่ได้เชื่อว่าลอยแล้วจะไปสวรรค์ เราเชื่อว่าจะเย็น คือ จะเป็นสุขนั่นเอง เดี๋ยวนี้ตั้งแต่หนังไทยหนังจีน(จำชื่อเรื่องไม่ได้ เอาเถ้าอังคารคนรักไปโปรยที่หุบเขา มีบทพูดประมาณว่าให้อวลแทรกอยู่ในทุกอณูของอากาศ อยู่ในอ้อมกอดของขุนเขา ประมาณนี้ ก็มีการเอาอย่างกันบ้างเจ้าค่ะ”
4. การลอยอังคารเป็นประเพณีนำมาจากศาสนาฮินดูในอินเดีย
“ตามความคิดเห็นของเราเอง น่าจะมาจากประเทศอินเดียนะคะ เพราะในประเทศอินเดียเค้าจะนำศพไปเผาริมแม่น้ำคงคา เมื่อเผาเสร็จเค้าก็นำเถ้าถ่านลงสู่พระแม่คงคา
“ชาวฮินดูที่มีความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคา ไม่ว่าจะดื่ม อาบ แช่ลงในน้ำ รวมไปถึงการเผาศพและก็ลอยไปในน้ำ บางทีก็โยนลงไปในน้ำเป็นศพทั้งตัวเลยก็มี เขาเชื่อว่าถ้าไม่ได้สัมผัสกับแม่น้ำคงคาก็จะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ ชาวฮินดูจึงนิยมลงไปแช่ อาบ ดื่ม เพื่อเป็นการชำระสิ่งชั่วร้าย และเป็นการชำระล้างบาป “
5. การลอยอังคารเป็นคตินิยมสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู
“...อังคาร คือ อัฐิ หรือเถ้าถ่านของกระดูกของคนตายที่เผาแล้ว พิธีการลอยอังคารนั้นเป็นคตินิยมสืบเนื่องมาจากลัทธิพราหมณ์ หรือ ชาวฮินดูที่มีความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคา ไม่ว่าจะดื่ม อาบ แช่ลงในน้ำ รวมไปถึงการเผาศพและก็ลอยไปในน้ำ บางทีก็โยนลงไปในน้ำเป็นศพทั้งตัวเลยก็มี เขาเชื่อว่าถ้าไม่ได้สัมผัสกับแม่น้ำคงคาก็จะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ ชาวฮินดูจึงนิยมลงไปแช่ อาบ ดื่ม เพื่อเป็นการชำระสิ่งชั่วร้าย และเป็นการชำระล้างบาป”
6. การลอยอังคารถือคตินิยมว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข
“ความเป็นมา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นลอยอังคารมาในสมัยใด เป็นแต่เพียงสันนิษฐานว่า พิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดีย ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
“ความมุ่งหมาย ถือคตินิยมว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แม้เกิดในภพใด ๆ ขอให้อยู่เป็นสุข เหมือนน้ำที่มีแต่ความชุ่มเย็น”
อ้างอิงโดยย sites.google.
|
|
|